HomeAuthor

ข่าวสารและบทความ

https://tvinsure.com/wp-content/uploads/2021/02/Travel-01-1280x640.png

เกี่ยวกับประกันการเดินทาง ประกันการเดินทาง เป็นประกันภัยรูปแบบหนึ่ง ซึ่งบริษัทประกันออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ผู้เดินทางหรือนักท่องเที่ยว ที่ต้องการความคุ้มครองความเสี่ยงการเดินทางเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ตามจำนวนวันที่เดินทาง ซึ่งส่วนใหญ่จะออกแบบมาเพื่อใช้กับการท่องเที่ยวต่างประเทศ และประกันเดินทางส่วนใหญ่จะมีความคุ้มครองที่คล้ายคลึงกัน โดยมีตัวอย่างความคุ้มครองดังต่อไปนี้ กรณีเสียชีวิตหรือสูญเสียอวัยวะของผู้เอาประกันภัย กรณีกระเป๋าเดินทางสูญหาย หรือความล่าช้าของกระเป๋าเดินทาง กรณีเที่ยวบินถูกยกเลิก หยุดชะงักการเดินทาง หรือความล่าช้าของเที่ยวบิน กรณีทรัพย์สินสูญหาย หรือเอกสารเดินทางสูญหาย ค่าใช้จ่ายในกรณีเจ็บป่วยหรือรักษาพยาบาลฉุกเฉิน ค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้ายและส่งกลับประเทศเพื่อรักษาพยาบาล ค่าใช้จ่ายในการในการส่งศพหรือกระดูกของผู้เอาประกันภัย ความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก ** อย่างไรก็ตาม การคุ้มครองขึ้นอยู่กับรูปแบบการรับประกันของแต่ละบริษัทผู้ออก อาจมีมากหรือน้อยกว่าที่เรากล่าวถึงได้   ซึ่งโดยปกติแล้วผู้ที่ทำประกันการเดินทางจะมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อคุ้มครองเที่ยวบิน 2. เพื่อคุ้มครองกระเป๋าเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นกรณีล่าช้า หรือสูญหาย 3. เพื่อดูแลเรื่องการเจ็บป่วย 4. เพื่อคุ้มครองกรณีเสียชีวิต 5. เพื่อยื่นขอวีซ่า   รูปแบบประกันการเดินทาง 1. ประกันการเดินทางแบบรายเที่ยว (Single Trip) คุ้มครองการเดินทางเที่ยวเดียว ซื้อเป็นครั้ง ๆ เหมาะสำหรับผู้ที่เดินทางไม่บ่อยในระยะเวลา 1 ปี โดยความคุ้มครองจะเริ่มตั้งแต่ออกจากประเทศไทยจนถึงเดินทางกลับ 2. ประกันการเดินทางแบบรายปี (Annual Trip) คุ้มครองการเดินทางไม่จำกัดเที่ยวบินต่อปี เหมาะสำหรับผู้ที่เดินทาง บ่อยๆ...

https://tvinsure.com/wp-content/uploads/2021/02/cyber-1280x640.png

“อีกไม่ช้า PDPA หรือ พรบ. ข้อมูลส่วนบุคคล 2562 โดยกฎหมายจะมีผลบังคับใช้ พ.ค. 2563 คือกฎหมายที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของคนไทย ไม่ว่าข้อมูลนั้นจะอยู่ในประเทศหรือต่างประเทศก็ตาม ดังนั้นบริษัทที่เคยเก็บข้อมูลลูกค้าควรจะต้องเข้าสู่การปรับตัว ไม่ว่าจะเป็น การเก็บข้อมูล, การใช้ข้อมูล, การควบคุมหากข้อมูลรั่วไหล”   แทบทุกบริษัทมีโอกาสที่จะได้รับผลกระทบจากการละเมิดข้อมูล หรือการถูกปล่อยข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลที่เป็นความลับไปสู่สภาพแวดล้อมที่ไม่น่าเชื่อถือ เช่น การเปิดเผยข้อมูลที่ไม่ได้ตั้งใจ การรั่วไหลของข้อมูลและการถูกแฮกข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลของลูกค้าหรือข้อมูลของพนักงานในบริษัทเอง ซึ่งคงต้องยอมรับว่าต้นเหตุล้วนมาจากที่บริษัทในปัจจุบันมีการทำธุรกรรมทางธุรกิจผ่านการใช้เทคโนโลยีและโซเชียลมีเดีย เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่ต้องการความสะดวกสบายของโลกออนไลน์ และสิ่งเหล่านี้นับเป็นประตูที่เปิดรับการโจมตีทางไซเบอร์ (Cyberattacks)  และเมื่อการโจมตีทางไซเบอร์เกิดขึ้นมันมักจะตามมาด้วยต้นทุนและค่าใช้จ่ายมากมายแก่บริษัท ซึ่งหากมามองในส่วนของการบริหารความเสี่ยง บริษัทต้องตัดสินใจระหว่าง การหลีกเลี่ยง ควบคุม ยอมรับ และโอนความเสี่ยง ดังนั้นหากบริษัทจะเตรียมพร้อมรับมือความท้าทายนี้ด้วยการโอนถ่ายความเสี่ยง ประกันภัยไซเบอร์ นั้นจะเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์   ประกันภัยไซเบอร์ คือ การประกันภัยที่คุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นจาก ความสูญเสียหรือเสียหายจากข้อมูล ระบบรักษาความปลอดภัยจากเครือข่าย ตลอดจนความผิดพลาดที่สร้างความเสียหายให้กับบุคคลภายนอกจากข้อมูลและระบบเครือข่ายนั้น ซึ่งประโยชน์หลักของประกันภัยไซเบอร์นั้น คือการถ่ายโอนความเสี่ยงที่จะเสียเงินมาให้บริษัทประกัน เมื่อถูกโจรกรรม หรือเกิดความเสียหายกับข้อมูล   ความคุ้มครองส่วนมากของประกันภัยไซเบอร์ จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ความคุ้มครองของผู้เอาประกัน (First...

https://tvinsure.com/wp-content/uploads/2021/02/Car-1280x640.png

ข้อโต้แย้งเกี่ยวกับประกันภัยรถยนต์ หลายต่อหลายครั้งที่จะเกิดข้อโต้แย้งระหว่างบริษัทประกันภัยและผู้เอาประกันภัย ซึ่งจริง ๆ แล้วเหตุการณ์เช่นนี้คงเป็นสิ่งที่ใคร ๆ คงไม่อยากให้เกิด แต่ในหลายกรณีพบว่าสาเหตุหลักเกิดจากการที่ผู้เอาประกันภัยอาจจะยังไม่เข้าใจในหลักกฎหมาย เงื่อนไข และข้อยกเว้นของการทำประกันภัยอย่างแท้จริง ซึ่งก็เป็นสิ่งที่ไม่ได้แปลกอะไรเพราะเนื้อหาที่เกี่ยวกับประกันภัยนั้นเป็นข้อมูลที่ซับซ้อนมาก   แต่อย่างไรก็ตามปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขเพื่อลดความเสียหายระหว่างทั้งสองฝ่ายได้ หากพวกเราผู้เอาประกันภัยได้เพิ่มเติมความรู้โดยการอ่านและศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของผู้เอาประกันภัย ขอบเขตความคุ้มครอง เงื่อนไข และข้อยกเว้นต่างๆ ในกรมธรรม์ประกันภัยให้เข้าใจอย่างถี่ถ้วน เพื่อที่จะได้เป็นผู้ที่ไม่เสียโอกาสและไม่เกิดเรื่องโต้แย้งที่จะเสียเวลากับพวกเราในท้ายที่สุด  โดยทางเรามีหลักการทั่วไปที่ควรทราบมาแนะนำให้เป็นความรู้ติดตัวดังนี้ การโอนรถยนต์ /การเปลี่ยนเจ้าของ เมื่อผู้เอาประกันรถยนต์โอนรถยนต์ให้บุคคลอื่น ให้ถือว่าผู้รับโอนเป็นผู้เอาประกันภัยตามกรมธรรม์นี้ และบริษัทผู้รับประกันภัยต้องรับผิดชอบตามกรมธรรม์ประกันภัยต่อไปตลอดอายุกรมธรรม์ประกันภัยที่ยังเหลืออยู่   ในกรณีเป็นการทำประกันภัยประเภทระบุชื่อผู้ขับขี่ผู้เอาประกันภัยอย่างชัดเจน ผู้เอาประกันจะต้องแจ้งการเปลี่ยนแปลงผู้ขับขี่ให้บริษัทประกันภัยทราบ เพื่อจะได้ทำการปรับปรุงอัตราเบี้ยประกันภัยตามสภาพความเสี่ยงภัยที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงเจ้าของ หากไม่ได้แจ้งผู้เอาประกันภัยนั้นอาจจะต้องรับผิดชอบในความเสียหายส่วนแรกเอง ตามเงื่อนไขความคุ้มครองที่ปรากฏในกรมธรรม์ที่กำหนดไว้   การหยุดใช้รถ ผู้เอาประกันภัยอาจแจ้งการหยุดใช้รถยนต์เพื่อขอรับเบี้ยประกันภัยคืนจากบริษัทผู้ประกันภัยได้โดย 1. ต้องแจ้งล่วงหน้าเพื่อขอหยุดการใช้รถยนต์ การคืนเบี้ยประกันภัยให้เฉลี่ยเป็นรายวัน 2. ห้ามคืนเบี้ยประกันภัยในการหยุดใช้รถในกรณี หยุดการใช้รถยนต์น้อยกว่า 30 วัน หรือรถอยู่ในระหว่างการซ่อมแซม   รถยนต์เช่าซื้อ การประกันภัยรถยนต์เช่าซื้อ ให้บริษัทผู้รับประกันภัยแต่ผู้เดียวเท่านั้น การยกผลประโยชน์ตามส่วนได้ส่วนเสียให้ผู้ให้เช่าซื้อเป็นผู้เอาประกันภัยแต่ผู้เดียวเท่านั้น การยกผลประโยชน์ตามส่วนได้เสียให้ผู้ให้เช่าซื้อ ให้บริษัทใช้เอกสารแนบท้ายเพิ่มเติมรายละเอียด

https://tvinsure.com/wp-content/uploads/2021/02/Vocab-1280x640.png

ผู้รับประกันภัย ( Insurer ) คู่สัญญาซึ่งตกลงจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือชดใช้เงินจำนวนหนึ่ง ให้ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์   ผู้เอาประกันภัย ( Insured ) คู่สัญญาซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัยจำนวนหนึ่งให้ผู้รับประกันภัยเมื่อเกิด มีภัยขึ้น ผู้รับประกันภัยจึงจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย   ผู้รับผลประโยชน์ ( Beneficiary ) บุคคลภายนอกสัญญาประกันภัย ที่มีสิทธิ์เข้ามารับประโยชน์ในค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยนั้น ตามข้อตกลงของผู้เอาประกันภัย กับ ผู้รับประกันภัย ดังนั้น เมื่อมีผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยแล้ว ผู้เอาประกันภัยไม่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาอีกต่อไป ผู้รับประโยชน์อาจเป็นบุคคลเดียวกับผู้เอาประกันภัยก็ได้   เบี้ยประกันภัย ( Premium ) จำนวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องจ่ายให้แก่ผู้รับประ-กันภัย ตามสัญญาประกันภัย ซึ่งการจ่ายอาจจะจ่ายเป็นรายปี ราย 6 เดือน ราย 3 เดือน รายเดือน แล้วแต่จะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย   กรมธรรม์ประกันภัย ( Policy ) เอกสารที่แสดงข้อตกลง เงื่อนไขต่างๆ ของสัญญาประกันภัย ในกรมธรรม์จะประกอบไปด้วย รายละเอียดต่างๆมากมาย...

https://tvinsure.com/wp-content/uploads/2021/02/Benefit-1280x640.png

การทำประกันมีประโยชน์อย่างไร?   ประโยชน์จากการทำประกัน ด้านการลงทุน ประกันชีวิตเปรียบเสมือนหลักทรัพย์ชนิดหนึ่งเช่นกัน เนื่องจากผู้ทำประกันจะได้รับดอกผลเช่นเดียวกับการฝากเงินในสถาบันการเงินทั่วไป ในส่วนที่แตกต่างกันคือ จะมีระเบียบวิธีการ เงื่อนไข และอัตราดอกเบี้ยที่แตกต่างกัน การประกันชีวิตนั้แม้ได้ผลตอบแทนต่ำกว่าการลงทุนบางประเภท แต่ก็นับว่าเป็นรายได้ที่แน่นอน มีความเสี่ยงต่ำและเชื่อมั่นได้ว่าต้นทุนไม่สูญหายไปด้วย   ด้านการออม ลักษณะการออมของการทำประกันภัยนั้น จะเป็นในลักษณะแบบกึ่งบังคับ โดยเฉพาะการประกันชีวิตแบบตลอดชีพและสะสมทรัพย์ ซึ่งผู้เอาประกันจะต้องมีหน้าที่ในการจ่ายเบี้ยประกันอย่างสม่ำเสมอ และหากผู้เอาประกันไม่เสียชีวิตเมื่อครบระยะเวลาตามที่กรมธรรม์กำหนดไว้ ก็จะได้เงินต้นคืนพร้อมดอกเบี้ย นับได้ว่าเป็นการออมเพื่อไว้ใช้ยามชราก็ได้ หรือออมไว้เพื่อเก็บเป็นทุนการศึกษาของบุตรหลาน นอกจานี้ ยังเป็นการสร้างค่านิยมให้คนรู้จักประหยัด และมีความรับผิดชอบต่อครอบครัวอีกด้วย   ด้านการให้ความคุ้มครอง การทำประกันชีวิตจะช่วยบรรเทา ความเดือดร้อนเรื่องการเงิน รวมทั้ง เรื่องค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นของครอบครัว อันเนื่องมาจากการเสียชีวิตของบุคคลใดบุคคลหนึ่งในครอบครัวนั้น   ด้านการสร้างความมั่นคงให้กับชีวิต การประกันชีวิตสามารถช่วยสร้างความมั่นคงของรายได้ให้แก่ผู้เอาประกันได้ ในกรณีการทำประกันการเจ็บป่วย หรือการประกันอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิด ผู้เอาประกันจะได้เงินทดแทนเพื่อใช้ในการเลี้ยงชีพตน ในกรณีทุพพลภาพโดยสิ้นเชิงได้ ในกรณีการทำประกันชีวิตเพื่อเลี้ยงชีพยามชรา ผู้เอาประกันก็สามารถมีรายได้เพื่อเลี้ยงชีพไปจนตลอดชีวิตเช่นกัน   ด้านการได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี เนื่องจากรัฐบาลได้ให้ การส่งเสริมธุรกิจประกันชีวิต ดังนั้น ผู้ที่ทำประกันชีวิตก็สามารถนำเบี้ยประกันชีวิตของบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ ประกอบธุรกิจประกันชีวิตในประเทศไทย ไปใช้เป็นค่า ลดหย่อนในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาได้ ทั้งนี้ เพื่อเป็นแรงจูงใจให้ประชาชนหันมาสนใจการทำประกันชีวิตเพิ่มขึ้น เพื่อความมั่นคงในชีวิตของประชาชนทั่วไป  ...

Contact Usช่องทางการติดต่อ
บริษัท ทวีทรัพย์โบรคเกอร์ จำกัด
204/11 ถนนสุรวงศ์ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
ใบอนุญาต ว00288/2534
Talk with Usพูดคุยกับเรา
เข้ามาพูดกันเลยผ่าน Line OA

Line: @tvinsure

Contact Usช่องทางการติดต่อ
บริษัท ทวีทรัพย์โบรคเกอร์ จำกัด
204/11 ถนนสุรวงศ์ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
ใบอนุญาต ว00288/2534
Our Systemsระบบของเรา
Our Blogsบทความแนะนำของเรา
Talk with Usพูดคุยกับเรา
เข้ามาพูดกันเลยผ่าน Line OA

Line: @tvinsure