HomeTag

ข่าวสารและบทความ

https://tvinsure.com/wp-content/uploads/2022/06/IPD_และ_OPD_คืออะไร-01-1280x640.png

หลาย ๆ คนอาจสงสัยว่าเวลาเราจะซื้อประกันสุภาพ จะมีตารางเทียบเบี้ยความคุ้มครองประกันตามอายุอยู่ด้วยช่วงท้าย ๆ เอกสาร แต่ทุกคนเคยสงสัยไหมว่า คำว่า IPD และ OPD ในเอกสารนั้นคืออะไร มันสำคัญอย่างไร เดี๋ยววันนี้น้องทวีจะมาบอกคำตอบให้ คำว่า IPD ชื่อเต็มมาจาก In-Patient-Department หมายถึง ผู้ป่วยใน ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาติดต่อกันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง หรือมีอาการป่วยหนักในการรักษานั้น อาจจะต้องเข้าพักในห้องพักผู้ป่วยต่าง ๆ ต้องหยุดงานมารักษาตัว เป็นต้น ส่วน OPD ก็คือ Out-Patient-Department หรือผู้ป่วยนอกนั่นเอง ซึ่งจะเป็นผู้ป่วยที่มีปัญหาทางสุขภาพเล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้นไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาลใด ๆ  ทีนี้ IPD และ OPD เกี่ยวอะไรกับประกัน  ก็เพื่อทำให้การคุ้มครองและการชดเคยค่ารักษาต่าง ๆ ตอบโจทย์ตามปัญหาและความรุนแรงของสุขภาพแต่ละคน พูดง่าย ๆ คือเป็นทางเลือกให้กับผู้ทำประกันนั้นเองว่า ปกติป่วยแบบเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือมีแนวโน้มที่จะต้องเข้าพักที่โรงพยาบาลกรณีที่เกิดความเจ็บป่วยต่าง...

https://tvinsure.com/wp-content/uploads/2022/06/วิธีอ่านกรมธรรม์แบบเข้าใจง่าย-01-1280x640.png

ในการซื้อประกันภัยทุก ๆ รูปแบบนั้น จะมีเอกสารหนึ่งที่สำคัญมาก ๆ อยู่หนึ่งฉบับที่ทุกคนน่าจะคุ้นหูคุ้นตาอย่าง เอกสารกรมธรรม์ ที่ออกโดยบริษัทประกันภัยนั้น ๆ ที่เราเลือกซื้อประกันด้วย น้องทวีขอถามพี่ ๆ หน่อยว่า พี่ ๆ เคยอ่านเอกสารกรมธรรม์อย่างละเอียดหรือเปล่า หรือ พี่ ๆ เคยอ่านกรมธรรม์ในมือพี่ ๆ ไหมน้าา ถ้าพี่ ๆ ไม่เคยอ่านหรือแม้แต่จะอ่านไม่เป็นก็ตาม ไม่รู้ว่าอะไรอยู่ตรงไหนคืออะไร เอาล่ะ วันนี้น้องทวีจะมาสอนพี่ ๆ อ่านเอกสารกรมธรรม์กันน~  ก่อนอื่นเราต้องมาดูก่อนว่า กรมธรรม์ คืออะไร  กรมธรรม์ก็คือ เอกสารฉบับหนึ่งที่ทางบริษัทประกันภัยจะมอบให้แก่ผู้เอาประกันภัย เป็นเหมือนกับเครื่องยืนยันการซื้อประกันภัยเพื่อยืนว่าเราจะได้รับความคุ้มครองจากบริษัทประกันตามข้อตกลงที่อยู่ในเงื่อนไขของประกันนั้น ๆ ข้อมูลสำคัญในกรมธรรม์มีอะไรบ้าง ข้อมูลสำคัญในเอกสารกรมธรรม์จะถูกแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลัก ๆ คือ  ข้อมูลสรุปทั่วไป เช่น ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ ผู้ได้รับความคุ้มครอง เป็นต้น ข้อมูลผลประโยชน์และความคุ้มครองประกันภัย ตารางเบี้ยประกันภัยที่จะต้องจ่ายตามรอบทั้งแบบรายเดือนและรายปี ซึ่งข้อมูลสำคัญนี้จะมีความแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับประเภทการออกกรมธรรม์ เช่น กรมธรรม์คุ้มครองรถยนต์ กรมธรรม์คุ้มครองสุขภาพ...

https://tvinsure.com/wp-content/uploads/2022/06/ประกันช่วยลดหย่อนภาษียังไง-1280x640.png

ในทุกวันนี้การเลือกซื้อประกันต่างก็มีปัจจัยที่แตกต่างกันไป เช่น เพื่อค่ารักษาพยาบาล เพื่อการดูแลสุขภาพ เป็นต้น แต่ก็ต้องยอมรับว่ามีอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้คนในปัจจุบันหันมาซื้อประกันกันมากขึ้นก็คือเรื่องของการลดหย่อนภาษี แต่ไม่ใช่ประกันทุกแบบที่จะสามารถทำได้ วันนี้น้องทวีจะมาบอกพี่ ๆ ว่าประกันจะช่วยลดหย่อยภาษีพี่ ๆ ยังไง สาเหตุที่ทำให้ประกันภัยสามมามารถลดหย่อยภาษีได้ก็เพราะว่า การทำประกันคือสร้างความสร้างความมั่นคงให้ชีวิต ซึ่งเงินที่ทำประกันจะสามารถให้ผลตอบแทนหรือเงินชดเชยความเสียหายได้คล้าย ๆ กับการที่เราออมเงินเพื่ออนาคตของเรานั่นเอง    ทีนี้เรามาดูกันว่าประกันอะไรบ้างที่เราสามารถลดหย่อยภาษีได้ อย่างแรกเลยคือมีประกันชีวิตแบบทั่วไปสามารถนำเบี้ยมาลดหย่อนภาษีได้ตามจำนวนที่จ่ายจริงสูงสุดถึง 100,000 บาท สองคือ ประกันชีวิตแบบบำนาญหรือแบบเงินได้ประจำ ซึ่งสามารถลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริง สูงสุดถึง 200,000 บาท โดยต้องไม่เกิน 15% ของเงินได้พึงประเมิน จริง ๆ แล้วการที่เราทำประกันเราควรมองที่จุดมุ่งหมายของการคุ้มครองมากกว่าเรื่องของการลดหย่อนภาษี แต่ก็อาจมองเป็นปัจจัยที่มาสนับสนุนเพื่อให้เราทำประกันคุ้มครองชีวิตแบบนี้น่าจะดีกว่านะ น้องทวีแนะนำ

https://tvinsure.com/wp-content/uploads/2022/06/เคลมสด-กับ-เคลมแห้ง-คืออะไร-01-1280x640.png

วันนี้มีพี่ ๆ ถามน้องทวีเข้ามาว่าการเคลมเพื่อเอาประกันรถยนต์มีคำว่า เคลมสดกับเคลมแห้งด้วย พี่ ๆ หลายคนน่าจะสงสัยว่า เคลมสดเคลมแห้งคืออะไร ต้องเปียกน้ำหรอเปล่า ใจเย็น ๆ เดี๋ยวน้องทวีจะมาอธิบายให้พี่ ๆ ฟัง ในการเคลมประกันรถยนต์จะมีศัพท์เฉพาะของการเคลมเพื่อเอาประกันภัยอนั้นคือ เคลมสดกับเคลมแห้ง ซึ่งเคลมสด หมายถึง การเคลมที่ต้องมีพนักงานตรวจสอบความเสียหายในสถานที่เกิดเหตุ เช่น กรณีเฉี่ยวชนจนมีผู้บาดเจ็บหรือเกิดความเสียหายอย่างรุนแรง ประเภท รถบุบ รถพัง แบบนี้ต้องมีคนไปตรวจสอบแล้วนำใบหลักฐานความเสียหายไปแจ้งซ่อมกับอู่หรือห้างที่ซ่อมรถได้เลย ส่วนการเคลมแห้งก็คือในทางกลับกันกับเคลมสด นั่นหมายความว่าการเคลมแห้งคือการเคลมที่ไม่ต้องมีพนักงานตรวจสอบความเสียหายในสถานที่เกิดเหตุ อาจจะเป็นเหตุการณ์เล็ก ๆ เช่น เมื่อชนกระถางต้นไม้หน้าออฟฟิศ เราสามารถนำรถของเราไปซ่อมในอู่หรือห้างที่ซ่อมรถได้เลยก่อนกรรมธรรม์จะหมดอายุ เอาละ พี่ ๆ น่าจะเข้าใจคำว่าการเคลมสดกับเคลมแห้งแล้วใช่ไหมล่ะ ทีนี้เวลาเกิดเหตุต้องเรียกเคลมขึ้นมา พี่ ๆ จะได้ประเมินสถานการณ์ได้ว่า นี่เราต้องการเคลมสดหรือเคลมแห้งกันนะ แล้วครั้งหน้าน้องทวีจะมานำความรู้ในเรื่องของประกันภัยมาบอกให้พี่ ๆ ที่ติดตามเราได้รู้อะไรใหม่ ๆ ก่อนใครเลย อย่าลืมติดตามน้องทวีด้วยน๊าา~

https://tvinsure.com/wp-content/uploads/2021/02/Vocab-1280x640.png

ผู้รับประกันภัย ( Insurer ) คู่สัญญาซึ่งตกลงจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือชดใช้เงินจำนวนหนึ่ง ให้ผู้เอาประกันภัยหรือผู้รับประโยชน์   ผู้เอาประกันภัย ( Insured ) คู่สัญญาซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัยจำนวนหนึ่งให้ผู้รับประกันภัยเมื่อเกิด มีภัยขึ้น ผู้รับประกันภัยจึงจะจ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัย   ผู้รับผลประโยชน์ ( Beneficiary ) บุคคลภายนอกสัญญาประกันภัย ที่มีสิทธิ์เข้ามารับประโยชน์ในค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยนั้น ตามข้อตกลงของผู้เอาประกันภัย กับ ผู้รับประกันภัย ดังนั้น เมื่อมีผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยแล้ว ผู้เอาประกันภัยไม่มีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาอีกต่อไป ผู้รับประโยชน์อาจเป็นบุคคลเดียวกับผู้เอาประกันภัยก็ได้   เบี้ยประกันภัย ( Premium ) จำนวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องจ่ายให้แก่ผู้รับประ-กันภัย ตามสัญญาประกันภัย ซึ่งการจ่ายอาจจะจ่ายเป็นรายปี ราย 6 เดือน ราย 3 เดือน รายเดือน แล้วแต่จะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย   กรมธรรม์ประกันภัย ( Policy ) เอกสารที่แสดงข้อตกลง เงื่อนไขต่างๆ ของสัญญาประกันภัย ในกรมธรรม์จะประกอบไปด้วย รายละเอียดต่างๆมากมาย...

Contact Usช่องทางการติดต่อ
บริษัท ทวีทรัพย์โบรคเกอร์ จำกัด
204/11 ถนนสุรวงศ์ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
ใบอนุญาต ว00288/2534
Talk with Usพูดคุยกับเรา
เข้ามาพูดกันเลยผ่าน Line OA

Line: @tvinsure

Contact Usช่องทางการติดต่อ
บริษัท ทวีทรัพย์โบรคเกอร์ จำกัด
204/11 ถนนสุรวงศ์ แขวงสี่พระยา เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500
ใบอนุญาต ว00288/2534
Our Systemsระบบของเรา
Our Blogsบทความแนะนำของเรา
Talk with Usพูดคุยกับเรา
เข้ามาพูดกันเลยผ่าน Line OA

Line: @tvinsure